วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

การใช้ภาษาไทยเบื้องต้น

ภาษาไทยเบื้องต้น

   ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  มีวิวัฒนาการเริ่มตั้งแต่รวมกันเป็นชนชาติ ปรากฎหลักฐานในภาษาพูดที่อยู่ในตระกูลภาษาไต หรือไท ทางแถบตอนใต้ของจีน แคว้นอัสสัมของอินเดีย ตอนเหนือของเมียนม่าร์ ประเทศไทย ประเทศลาว และปรากฎหลักฐานชัดเจนขึ้นเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นประดิษฐ์ตัว อักษรไทยขึ้นมาใช้ในปี พ.ศ.๑๘๒๖ โดยได้พัฒนามาจากอักษรขอมหวัดและมอญโบราณ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากอักษรคฤนถ์(อินเดียใต้) และอักษรเทวนาครี(อินเดียเหนือ)

  คำว่า ไทย” นั้นหมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า การลากคำเข้าวัดซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว  เข้า ไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของ ตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาในการสื่อสาร

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาสื่อสาร 

   การสื่อสารด้วยภาษาพูด โดยเป็นการพูดที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังโดยตรง  ไม่ใช่การพูดผ่านสื่อ  ผู้พูดสามารถสังเกตรับรู้ได้ว่าผู้ฟังเข้าใจหรือไม่โดยดูจากปฏิกิริยา หรือคำถามย้อนกลับ แต่ในกรณีที่เป็นการพูดผ่านสื่อ หรือการเขียนสื่อความ หากใช้ภาษาไม่ชัดเจน อาจทำให้เข้าใจผิด การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล 
 
     การใช้ภาษาไม่ชัดเจน  เกิดจาก 
     1. ใช้คำฟุ่มเฟือย
     การใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นทั้งที่สามารถตัดออกได้โดยไม่ทำให้เสียความ  เช่น ตำรวจทำการจัดกุมคนร้าย  เขาออกเดินทางเมื่อเช้าตรู่ใกล้รุ่ง 

     2. ใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
     ในภาษาไทยมีคำทับศัพท์จำนวนมาก  เนื่องจากการรับเอาคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเข้ามา  ศัพท์บางคำมีคำที่ใช้ในภาษาไทย  ซึ่งจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารให้ตรงความหมาย  เช่น  ชื่อเฉพาะ  ศัพท์ทางวิชาการ  แต่คำศัพท์บางคำมีคำไทยใช้หรือมีการบัญญัติคำศัพท์ในภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว  ไม่จำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์  เช่น  แสตมป์ (ดวงตราไปรณียากร)  บอมพ์ (ระเบิด)  กรุ๊ป (กลุ่ม)  เซ็นเตอร์ ( ศูนย์กลาง)

ประโยคสนุกๆ

ประโยคสนุก ๆ

ประโยคสนุก ๆ ให้ลิ้นพันกันเล่น

ระนอง ระยอง ยะลา

เช้าฟากผัดฟักเย็นฟากฟักผัด

ชามเขียวคว่ำเช้าชามขาวคว่ำค่ำ

หมึกหกเลอะมุ้ง มุ้งเลอะหมึกหมด

ฉะเชิงเทรา เสาชิงช้า ซู่ซ่าไปฉะเชิงเทรา

ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก


หางหมูแหย่หูหมี หางหมีแหย่หูหมู หูหมูหูหมี ดูสูสีหูหมีหูหมู



กินมันติดเหงือก กินเผือกติดฟัน กินทั้งมันกินทั้งเผือกติดทั้งเหงือกติดทั้งฟัน

หน้าที่ของประโยค

ชนิดและหน้าที่ของประโยค

ความหมายและส่วนประกอบของประโยค
ความหมายของประโยค
ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น

ส่วนประกอบของประโยค
ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้

1. ภาคประธาน
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น

2. ภาคแสดง
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ

การใช้ประโยคในภาษาไทย

ประโยคในภาษาไทย


ประโยค
ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีทั้งภาคประธาน และภาคแสดง  มีใจความสมบูรณ์ครบถ้วน รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

ประโยคแบ่งตามจำนวนเนื้อความได้ ๓ ชนิด คือ
๑.  ประโยคความเดียว (เอกัตถประโยค) คือประโยคที่มีใจความเดียว คือมีบทประธานบทเดียว และบทกริยาเพียงบทเดียว เช่น 

ก้อยเล่นแบดมินตันที่สโมสร
รถของคุณแม่เสียบ่อย ๆ
เจ้าแต้มสุนัขข้างบ้านจะกัดเจ้าวุ่นของฉัน
ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
น้อง ๆ ชั้นปีที่ ๑ เชื่อฟังพวกเราพี่ชั้นปี ๒ อย่างดี
ข้อสังเกต ประโยคความเดียว สันธานที่ใช้เชื่อมบทกรรมหรือวิเศษณ์เป็นการเชื่อมคำ

๒.   ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม เช่น

เก่งทำงานบ้านและร้องเพลงเบา ๆ
อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
หลานช่วยพยาบาลย่าจึงหายป่วยเร็ว
ดีทูบีเป็นนักร้องแต่คัทรียาเป็นดาราภาพยนตร์
เธอจะทานผลไม้หรือขนมหวาน
ข้อสังเกต สันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค