ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
มีวิวัฒนาการเริ่มตั้งแต่รวมกันเป็นชนชาติ
ปรากฎหลักฐานในภาษาพูดที่อยู่ในตระกูลภาษาไต หรือไท ทางแถบตอนใต้ของจีน
แคว้นอัสสัมของอินเดีย ตอนเหนือของเมียนม่าร์ ประเทศไทย ประเทศลาว และปรากฎหลักฐานชัดเจนขึ้นเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นประดิษฐ์ตัว
อักษรไทยขึ้นมาใช้ในปี พ.ศ.๑๘๒๖ โดยได้พัฒนามาจากอักษรขอมหวัดและมอญโบราณ
ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากอักษรคฤนถ์(อินเดียใต้) และอักษรเทวนาครี(อินเดียเหนือ)
คำว่า
“ไทย” นั้นหมายความว่า
อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่
เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า
เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า ‘การลากคำเข้าวัด’
ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล
เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้
จึงเติมตัว ย เข้า ไปข้างท้าย
เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของ ตน
ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้พระโหราธิบดีแต่งแบบเรียนภาษาไทยขึ้นเป็นแบบเรียน
ภาษาไทยเล่มแรกมีชื่อว่า ”จินดามณี” ซึ่งแปลว่า
แก้วสารพัดนึก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย คือ
มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน
ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์
และต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน
และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่อีกเล่มหนึ่งโดยย่อ จากตำราสยามไวยากรณ์
และใน พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนาชีวะ)
ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์นำมาแต่งเป็นตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่
ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย อักขรวิธี
วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ ถือว่าตำราเล่มนี้เป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและ
ใช้กันจนถึงปัจจุบัน
วิวัฒนาการของภาษาไทย ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น
๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม
และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม
ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม
เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม
คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว
ลักษณะภาษาไทยแท้
. ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย
นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้
เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ
แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ
ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ
คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่
พูดมาก ดียิ่ง คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย
ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่
ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา
ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก
สะกด แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ
ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์
คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์
ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ
ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น
กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา
วาจก
เป็นภาษามีเสียงดนตรี
นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง
ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน
เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง
ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้
เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา
ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย
ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา
มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ
เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว
ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ
มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้
มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น
มีคำควบกล้ำมากขึ้น
มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส
และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมร
ใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น
เช่น แม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกด แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ
ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น
มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น
ลักษณะเด่นของภาษาไทย
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยพระโหราธิบดี ได้แต่งตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก
ชื่อ จินดามณี ขึ้น ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กระทรวงธรรมการได้พิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน
และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยย่อจากตำราสยาม
ไวยากรณ์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปะสาร ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์แต่งตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่
ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์และเป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ใช้
กันมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะที่สำคัญของภาษาไทย มีดังนี้
ภาษาไทยเป็นคำโดด คือ
คำไทยแต่ละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองและใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปศัพท์
เช่น พ่อ แม่ สูง ต่ำ เป็นต้น เมื่อเทียบกับคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
จะเห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ดังนี้
กร (ทำ)
กริยา การก (ผู้ทำ) นามนาม
รม (ยินดี)
กริยา รมณีย (น่ายินดี) คุณนาม
กุมาโร (เด็กชายคนเดียว) กุมารา (เด็กชายหลายคน)
กุมาโร (เด็กชาย) กุมารี (เด็กหญิง)
คจฉติ (ย่อมไป) คโต (ไปแล้ว)
die (ตาย)
กริยา death (ความตาย) นาม
man (คนผู้ชายคนเดียว) men (คนผู้ชายหลายคน)
prince (เจ้าชาย) princess (เจ้าหญิง)
work (ทำงาน) worked (ได้ทำงาน)
คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว คือ
เป็นคำที่มีความหมายเข้าใจได้ทันที เช่น โอ่ง ไห ดิน น้ำ ลม ไฟ น
คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น
คำที่เกี่ยวกับการต่อสู้ ได้แก่ แม่กก —- ชก
ศอก กระแทก โขก ผลัก, แม่กด —- กัด
ฟัด รัด อัด กอด ฟาด อัด, แม่กบ —- ตบ
ทุบ งับ บีบ จับ กระทืบ ถีบ เป็นต้น
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์นี้จะทำให้คำมีระดับเสียงและความหมายต่างกัน
เช่น คา ค่า ค้า, เขา
เข่า เข้า, นำ น่ำ น้ำ,
เสือ เสื่อ เสื้อ เป็นต้น
ภาษาไทยมีการสร้างคำเพื่อเพิ่มความหมายให้มากขึ้น การเพิ่มคำในภาษาไทยมีหลายลักษณะ
เช่น การประสมคำ คำซ้อน คำซ้ำ คำสมาส คำสนธิ ศัพท์บัญญัติ คำแผลง เป็นต้น
การเรียงคำในประโยค การเรียงคำในประโยคของภาษาไทยนั้นสำคัญมาก
เพราะถ้าเรียงคำในประโยคสลับกันจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น พ่อให้เงินผมใช้
– พ่อให้ใช้เงินผม – พ่อให้ผมใช้เงิน
เป็นต้น
คำขยายในภาษาไทยมักจะเรียงอยู่หลังคำที่ถูกขยาย เช่น
แม่ไก่สีแดง, เรือลำใหญ่แล่นช้า เป็นต้น
คำไทยมีคำลักษณนาม เช่น คน, ตัว,
หลัง, ด้าม, คัน ฯลฯ
ภาษาไทยมีวรรคตอนในการเขียนและการพูด เพื่อกำหนดความหมายที่ต้องการสื่อสาร
หากแบ่งวรรคตอนการเขียนผิดหรือพูดเว้นจังหวะผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น อาหาร
อร่อยหมดทุกอย่าง – อาหารอร่อย หมดทุกอย่าง เป็นต้น
ภาษาไทยมีระดับการใช้ ระดับของภาษาแบ่งได้ดังนี้
ระดับพิธีการ – ใช้ในพิธีการสำคัญต่างๆ
ระดับทางการ – ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ
(ภาษาทางการ)
ระดับกึ่งทางการ – ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ
แต่ลดระดับโดยการใช้ภาษาสุภาพและเป็นกันเองมากขึ้น
ระดับสนทนา – ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ
เช่น การพูดคุยทั่วไป
ระดับกันเอง – ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการกับ
เพื่อนสนิท สามารถใช้ภาษาพูดหรือภาษาคะนอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น