ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
มีวิวัฒนาการเริ่มตั้งแต่รวมกันเป็นชนชาติ
ปรากฎหลักฐานในภาษาพูดที่อยู่ในตระกูลภาษาไต หรือไท ทางแถบตอนใต้ของจีน
แคว้นอัสสัมของอินเดีย ตอนเหนือของเมียนม่าร์ ประเทศไทย ประเทศลาว และปรากฎหลักฐานชัดเจนขึ้นเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นประดิษฐ์ตัว
อักษรไทยขึ้นมาใช้ในปี พ.ศ.๑๘๒๖ โดยได้พัฒนามาจากอักษรขอมหวัดและมอญโบราณ
ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากอักษรคฤนถ์(อินเดียใต้) และอักษรเทวนาครี(อินเดียเหนือ)
คำว่า
“ไทย” นั้นหมายความว่า
อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่
เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า
เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า ‘การลากคำเข้าวัด’
ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล
เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้
จึงเติมตัว ย เข้า ไปข้างท้าย
เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของ ตน
ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง